Sunday, January 25, 2015

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 3 Goodbye Thailand

***Rules&regulations ในการอ่าน "so-called flight attendant"***

1. เรื่องราวทั้งหมดที่เกิด เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่อยู่ในอาชีพแอร์โฮสเตสมาเป็นระยะเวลา8ปี ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาโจมตีหรือพาดพิงผู้ใดทั้งสิ้น หากแต่เป็นการเขียนเพื่อเป็นวิทยาทานให้รุ่นน้องที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส และเพื่อเพื่อนๆผู้รักการอ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

2. เนื้อหาและเนื้อเรื่องบางส่วนในบางตอน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับสายการบินอื่นๆในเหตุการณ์เดียวกัน การนำเอาเรื่องราวของผู้เขียนไปเปรียบเทียบ หรือยึดถือเป็นหลักโดยรวมว่าด้วยเรื่องของชีวิตการเป็นแอร์โฮสเตส อาจทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ผิดต่อการเป็นแอร์โฮสเตสในภาพรวมได้

3. กรุณาใช้วิจารณญาณขั้นสูงสุดในการอ่าน เนื่องจากเรื่องราวของผู้เขียนนั้น เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตการทำงานและอยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออกกลางเท่านั้น การจัดการและการบริหารของสายการบินต่างๆในแถบนี้ รวมถึงสายการบินที่เบสในประเทศไทยนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อนร่วมงาน ผู้โดยสาร เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม การเลี้ยงดูในวัยเด็ก จิตสำนึก ความคิด ทำให้ความสามารถในการมองโลก การแก้ปัญหา การแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้อ่านจึงไม่ควรตัดสินชีวิตใคร แต่ควรพึงเข้าใจ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป ล้วนแล้วแต่เป็น "กรรม" ของแต่ละบุคคลเท่านั้น

................................................................

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 3 Goodbye Thailand

ตามมาติดๆกับตอนที่3 อ่านกันทันมั๊ยเนี่ย!? ฮาาาาาา ดราฟตอนนี้ไว้เมื่อ 4 วั นที่แล้วบนไฟลท์ยาวมากไฟลท์นึง ว่างนัก จัดหนักซะเลยยยย Goodbye Thailand คือ ชีวิตหลังจากที่น้องๆผ่านการสัมภาษณ์รอบสุดท้ายแล้ว และสายการบินยืนยันวันเดินทางมาให้แล้ว(เฉพาะเบสต่างประเทศ) ถึงตอนนี้ใครที่คิดว่าทำสำเร็จแล้ว ในที่สุดฉันก็ได้เป็นแอร์แล้ว คิดผิดแล้วน้องเอ้ยยยยย

ใช่ คิดผิด เพราะจริงๆแล้วมันคือการเริ่มต้นต่างหาก พวกการเตรียมตัวจัดกระเป๋าเสื้อผ้า ของใช้ ของกิน ของเล่น อะไรทั้งหลายแหล่เนี่ย มันเทียบไม่ได้กับความจริงที่ว่า น้องจะต้องจากบ้านจากเมือง จากครอบครัว จากเพื่อน ไปอยู่ในที่ๆต่างศาสนา วัฒนธรรม ผู้คน อากาศ อาหารการกิน สภาพบ้านเมืองที่ไม่คุ้นเคย ถามว่า เคยคิดถึงจุดนี้กันบ้างมั๊ยก่อนไปสมัครแอร์หน่ะ(เฉพาะเบสต่างประเทศแถบตะวันออกกลาง)

ในการสัมภาษณ์รอบสุดท้าย (Final Interview) ของบางสายการบิน กรรมการเค้าถึงได้ยิงคำถามออกมาว่า เราเคยไปอยู่ต่างประเทศมาก่อนหรือไม่ ถ้าเคย ไปอยู่กับใคร นานเท่าไหร่ คิดถึงบ้านมั๊ย(Homesick) เวลาที่คิดถึงบ้านแล้วเราทำยังไง ถ้านี่จะเป็นการออกไปอยู่ต่างประเทศครั้งแรกของคุณ คุณคิดว่าคุณจะอยู่ได้มั๊ย ดูแลตัวเองได้มั๊ย คือ มาเป็นชุดอ่ะคำถาม น้อง น้องอย่าทำเป็นเล่นไปเชียว อย่าได้คิดว่า กรรมการถามอะไรเนี่ยยยยยย ก็อยากเป็นแอร์หน่ะสิ ถึงได้มาสมัครหน่ะ ยังไงก็ต้องอยู่ได้อยู่แล้ว ขอให้เลือกฉันเป็นแอร์เถอะ แหม่ เอางั้นกันเลยทีเดียว อ่ะ ไม่ว่ากัน เหตุเพราะน้องยังนึกภาพไม่ออกว่าตัวเองต้องเจอกับอะไรยังไงบ้างนั่นเอง

ที่กรรมการเค้าต้องถามย้ำขนาดนั้น เพราะเค้ารู้ว่าเอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ง่ายนะ คือถ้ามาแล้วมีปัญหาทีหลังก็ต้องส่งตัวกลับอยู่ดี สมัยรุ่นที่พี่มาเมื่อ8ปีที่แล้ว มีลูกเรือคนไทยคนนึง มาอยู่มาบินได้ไม่ถึงปีด้วยซ้ำถ้าจำไม่ผิดนะ ปรากฏว่าเค้าอยู่ไม่ได้ คิดถึงบ้านมาก คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพี่ คิดถึงน้อง คิดถึงน้องหมาน้องแมวที่บ้าน และที่ขาดไม่ได้เลยคือ คิดถึงแฟน ร้องไห้โฮ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกตินะเอากันจริงๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยไปอยู่ต่างประเทศมาก่อนเลย แล้วเป็นคนติดบ้านติดแฟน รักประเทศไทยอะไรแบบนี้ พี่แนะนำว่าให้อยู่เมืองไทยเถอะ หมายถึงว่า ให้เป็นแอร์เบสไทยไปซะ อย่าไปสมัครเลยแอร์เบสนอก(โดยเฉพาะแถบตะวันออกกลาง) ส่วนพวกชอบลุย รักการผจญภัย กล้าไปเสียทุกอย่าง very independent สามารถอยู่คนเดียวได้ถ้าจำเป็น จะลองมาเป็นแอร์แถบนี้ดูก็ได้นะ เพราะถ้าได้มาเป็นแล้ว จะรู้เองว่า ใช่ ไม่ใช่ อยู่ได้ ไม่ได้

ส่วนใหญ่ที่เห็นบางสายการบินใหญ่ๆ พวกนี้ turn around สูง คือ คนเข้า-ออกทุกวัน ลูกเรือทำแค่ปีสองปีก็เผ่นแล้ว อันนี้แล้วแต่เหตุผลของแต่ละคนนะ ชีวิตใครชีวิตมัน ดูแลกันเอาเอง พวกที่รักและฝันจะเป็นแอร์ ถ้ามาทำแถบนี้แล้ว อยู่ไม่นานหรอก บอกเลย พวกที่อยู่นานๆนี่ ไม่ธรรมดา เพราะงานแอร์หน่ะ มันไม่ได้เป็นอย่างที่น้องคิดกันนะ พวกคิดว่ามาเดินแคทวอกสวยๆเสิฟอาหารชิวๆ ผิดถนัดน้อง มันคือการออกรบดีๆนี่เอง ขอบอกกกกกกก อะไรคือออกรบ!? ติดตามอ่านกันต่อไปเรื่อยๆเดี๋ยวรู้เอง

มีแอร์ไทยที่นี่หลายคนอยู่เหมือนกัน ที่ออกแนว "เบสไทย" อันนี้แอร์ไทยที่นี่เราแซวกันเองขำๆนะ คือพวกกลับไทยมันทุกวันหยุดเลย ไม่อยู่ที่นี่เลย อยู่ไม่ได้ คิดถึงบ้าน บินกลับมาเหนื่อยๆก็วิ่งไปขึ้นเครื่องต่อกลับไทยเลย อะไรแบบนี้ แซวกันว่า "เบสไทย" บางคนหนักๆเข้า เริ่มคิดจริงๆจังๆ ไม่อยู่มันแล้วโว้ยยยย ลาออกเลย กลับไปบินสายการบินที่เบสไทยดีกว่า อะไรแบบนี้ นานาจิตตังนะ ชีวิตเลือกได้ จัด!!!~

เพราะฉะนั้น ลองไปคิดกันดูดีๆ ว่าอยากเป็นแอร์เบสไทยหรือเบสนอก ใครที่อยากเป็นแอร์เบสนอก แต่ติดตรงที่เป็นคนรักประเทศไทยยิ่งชีพ ลองมองภาพคำคมที่พี่เอามาฝากวันนี้ แล้วลองตัดสินใจดูว่า "กล้ากระโดดมั๊ย" - "คุณ กล้า มั๊ย" แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 4 Hello Middle East 

>>> แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 4 Hello Middle East  <<<






>>> แนะแนวข้ามทวีป : Introduction <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : High School Love On <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : Better Planet VS. Better Kids <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : What's next? <<<

"so-called flight attendant" ตอนที่ 1 How? 

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 2 How come?

Monday, January 19, 2015

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 2 How come?

***Rules&regulations ในการอ่าน "so-called flight attendant"***

1. เรื่องราวทั้งหมดที่เกิด เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่อยู่ในอาชีพแอร์โฮสเตสมาเป็นระยะเวลา8ปี ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาโจมตีหรือพาดพิงผู้ใดทั้งสิ้น หากแต่เป็นการเขียนเพื่อเป็นวิทยาทานให้รุ่นน้องที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส และเพื่อเพื่อนๆผู้รักการอ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

2. เนื้อหาและเนื้อเรื่องบางส่วนในบางตอน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับสายการบินอื่นๆในเหตุการณ์เดียวกัน การนำเอาเรื่องราวของผู้เขียนไปเปรียบเทียบ หรือยึดถือเป็นหลักโดยรวมว่าด้วยเรื่องของชีวิตการเป็นแอร์โฮสเตส อาจทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ผิดต่อการเป็นแอร์โฮสเตสในภาพรวมได้

3. กรุณาใช้วิจารณญาณขั้นสูงสุดในการอ่าน เนื่องจากเรื่องราวของผู้เขียนนั้น เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตการทำงานและอยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออกกลางเท่านั้น การจัดการและการบริหารของสายการบินต่างๆในแถบนี้ รวมถึงสายการบินที่เบสในประเทศไทยนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อนร่วมงาน ผู้โดยสาร เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม การเลี้ยงดูในวัยเด็ก จิตสำนึก ความคิด ทำให้ความสามารถในการมองโลก การแก้ปัญหา การแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้อ่านจึงไม่ควรตัดสินชีวิตใคร แต่ควรพึงเข้าใจ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป ล้วนแล้วแต่เป็น "กรรม" ของแต่ละบุคคลเท่านั้น

................................................................

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 2 How come?

มาถึงตอนที่ 2 กันแล้ว เวลามีน้อยมากวันนี้ ตารางบินเปลี่ยนให้วุ่นวาย รีบมาปั่นงานเขียนให้อ่านกันก่อนที่จะรอกันเก้อ ขอเข้าเรื่องเลยแล้วกันนะ How come? ในที่นี้คือ เป็นไปได้ไง? ทำไมไม่ได้? คือไม่ผ่านรอบสัมภาษณ์ หรือไม่เข้าตากรรมการนั่นเอง

พี่จะไม่พูดถึงรายละเอียดการเตรียมตัวอะไรมากมายในตอนที่2นี้ เพราะทุกอย่างนั้นมันรวมอยู่ในตอนที่1 หมดแล้ว และถ้าใครไปทำการบ้านมาดีๆ จะรู้เลยว่า scope การเตรียมตัวสมัคร์แอร์มันเยอะแค่ไหน นี่คือสำหรับคนที่มุ่งมั่นจะเป็นจริงๆนะ ใครที่ตั้งใจอ่านจริงๆ ตั้งใจหาข้อมูลจากเวบไซด์ที่พี่แนะนำไป เปอร์เซนต์ที่จะผ่านการสัมภาษณ์รอบแรกนั้นมีสูงมากถึงมากที่สุด ใครอ่านมาแล้วบ้างนิดหน่อยจะรู้เลยว่ารอบแรกส่วนใหญ่กรรมการเค้าอยากเห็นอะไรจากเรา "grooming" คำๆนี้ จำให้แม่น จะสมัครแอร์ไม่สมัครแอร์ก็เถอะ "grooming" เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่น้องต้องใส่ใจให้มาก

มาคุยกันตรงๆนะ ใครเคยไปสมัครแอร์มาแล้ว แล้วไม่ผ่านบ้าง? แล้วพอไม่ผ่าน มีคำถามผุดขึ้นมามั๊ย ออกแนวโวยวายมั๊ยว่า "How come?" ทำไมไม่ได้ ทำไมไม่ผ่าน หนูผิดตรงไหน? การศึกษาหนูก็มี หนูเด็กจุฬา เด็กธรรมศาสตร์นะ จบถึงเมืองนอกเมืองนามาเชียวนะ ภาษาอังกฤษหนูก็ได้ โน้นนั่นนั่นนี่ เข้าขั้น "drama" กันเลยทีเดียว ประเด็นวันนี้จะมาพูดเรื่องนี้แหละ

ค่ะ หนูมีทุกอย่าง แต่สิ่งที่หนู(ยัง)ไม่มี คือ "attitude" ค่ะ ชัดๆกันไปเลย น้อง กรรมการหน่ะนะ เค้ารู้ว่าเค้ามาเอาใคร แบบไหน ยังไง เอาไปบินให้สายการบินเค้า เค้ามี "สเปค" ของเค้ามา อาจเป็นเรื่องความสูงในบางสายการบินที่ออกแนว "Boutique Airline" คือจะเอาไปเป็นหน้าเป็นตาสายการบิน อาจจะเป็นเรื่องภาษาที่3 ที่เค้าต้องการเอาไปบินไฟลท์ประเทศนั้นๆ เพราะเค้าขาด "Language Speaker" แบบนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นเวลากรรมการเค้ามองน้องมา คุยกับน้องคำ2คำ เค้ารู้แล้วว่าน้องใช่ไม่ใช่ ให้ผ่านหรือไม่ผ่าน จบนะ

"Attitude" สำคัญ น้องๆคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับเรื่อง "น้ำเต็มแก้ว" คือน้ำมันเต็มจนล้นแก้วออกมาแล้ว แต่ก็อยากจะเติมน้ำมันเข้าไปอีก แบบนี้ ก็ล้นออกมาจากแก้วไง ใครไปสมัครแอร์ด้วยความมั่นที่ออกแนว "I am a celebrity" ชั้นเป็น คิม คาดาเชี่ยน อะไรเทือกนั้น กรรมการคงส่ายหัวในใจ เป็นพี่ พี่ก็ไม่เอาคนแบบนี้มาเป็นแอร์สายการบินพี่นะ เพราะดูท่าแล้วจะมาสร้างปัญหาให้เพื่อนร่วมงานมากกว่ามาทำประโยชน์ให้สายการบินหน่ะ

ย้อนอดีตไปเมื่อ8ปีที่แล้ว ในห้องประชุมสัมภาษณ์แอร์รอบแรก มีผู้หญิงหน้าตาสวยมากๆอยู่คนนึง ให้ตายเถอะ เธอ แอร์การบินไทยใช่มั๊ย หน้าการบินไทยมากกกกก แต่ว่าไม่สูง แต่มีการศึกษาอย่างแรง เพราะเพิ่งกลับมาจากออสเตรเลีย ทำผมทรงคุณหญิงมาสอบสัมภาษณ์รอบแรก ผมทรงคุณหญิงที่ว่า คือทรงตั้งๆอ่ะ มันก็สวยอยู่หรอกนา แต่มันดูทะแม่งๆนะพี่ว่า ระหว่างต่อแถวไปวัดส่วนสูง คุณเธอดูกระวนกระวายแปลกๆ พี่มาถึงบางอ้อ ตอนยืนมองกรรมการวัดส่วนสูง คุณเธอยืนยกส้นเท้าไม่พอ ยังเงยหน้าให้ผมทรงคุณหญิงหน่ะไปแตะให้สูงที่สุดที่จะทำได้ กรรมการบอกเลยว่าไม่ผ่าน หน้าเสียเลย ชักสีหน้าใส่กรรมการด้วยนะ เดินออกมาเสร็จ ด่าเลยยยย ด่ากรรมการนี่แหละ โอ้วววว แม่เจ้า "attitude" ตัวเดียวเลยน้อง

ใครไม่สูง อย่าถอย เพราะเอาจริงๆแล้วรู้มั๊ย ถ้ากรรมการเค้าชอบเรา เค้าคิดว่าเราทำงานให้เค้าได้ เค้าจะให้โอกาสเรา มีคนสูงน้อย ขอใช้คำว่าสูงน้อย ผ่านเข้าไปเป็นแอร์หลายคนแล้ว เพราะอะไร เพราะกรรมการเค้าชอบ เค้ามั่นใจ ว่าน้องทำงานให้เค้าได้ คือ "attitude" ของน้อง ไปเข้าตากรรมการนั่นเอง แล้วก็ "attitude" นี่แหละ จะเป็นอีกตัวนึงที่จะช่วยให้การเป็นแอร์ของน้อง สะดวกสบายราบรื่น น้องเอ้ยยยย ขึ้นบินเมื่อไหร่ ได้ไปเจอะเจอกับผู้โดยสารร้อยพ่อพันธุ์แม่เมื่อไหร่ แล้วจะรู้เองว่าทำไมกรรมการถึงเลือกเรามาทำงานให้กับสายการบินเค้า พี่บอกได้แค่นี้แหละ

ใครไม่ผ่าน ไม่ต้อง "drama" หรือไปค้นหาความจริงว่าทำไม แต่กรุณาให้โอกาสตัวเองอีกครั้ง และอีกครั้ง และก็อีกครั้ง กับการสัมภาษณ์แอร์ในครั้งต่อไป อย่าหยุดไปสัมภาษณ์แอร์ เพราะทุกครั้งที่น้องไปสัมภาษณ์แอร์ น้องจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเยอะมาก จากการสัมภาษณ์ต่างสายการบิน ทั้งวิธีการสัมภาษณ์ที่แตกต่างกัน ใครสังเกตุตัวเองดีๆ นิ่งๆ ยอมรับความจริง จะระลึกชาติได้เองว่าตัวเองพลาดอะไรไป ขาดอะไรตรงไหน แล้วจะเริ่มปรับปรุงตัวเองได้เองในการสัมภาษณ์ครั้งต่อๆไป แต่ถ้าน้องหยุดไปสัมภาษณ์แอร์ เพียงเพราะว่าเสียเซลฟ์ กับแค่ไม่ผ่านแอร์รอบแรกหรือรอบต่อๆไป น้องก็จะไม่ได้เป็นแอร์แน่นอน100% การเสียเซลฟ์เพราะคิดว่าตัวเองดีแล้ว เก่งแล้วเหมาะแล้วที่จะเป็นแอร์ แบบนี้ เรียกว่า "น้ำเต็มแก้ว" ไปสมัครงานที่ไหน เปอร์เซนต์ในการผ่านการสัมภาษณ์ พี่ว่ามีน้อย ยกเว้นบริษัทนั้นๆมี "norm" หรือ "culture" ที่เหมาะกับคนที่มี "น้ำเต็มแก้ว" อยู่แล้ว แบบนั้นผ่านโลด แต่ฝากให้ไปคิดกันเอาเอง ถึง environment ในการทำงานกับพวก "น้ำเต็มแก้ว" ทั้งหลายนั้น ชีวิตการทำงานจะเป็นอย่างไร?

คนที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นพวก "น้ำเต็มแก้ว" เทออกหน่อยก็ดีนะ จะได้มีที่เหลือให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้บ้าง หรือทางที่ดี เทน้ำออกให้หมดแก้วเลยจะดีที่สุด รับสิ่งใหม่ๆได้เต็มที่ ว่ามั๊ย ส่วนใครที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็ "fail" มันไปซะทุกอย่าง อย่างสมัครแอร์ก็ท้อ ทำไมไม่ได้ซักที ให้คุยกับตัวเองดีๆนะ ว่าจริงๆแล้วอยากเป็นแอร์จริงรึเปล่า ถ้าอยากเป็นจริงๆ ก็ลุยต่อไป อย่าหยุด จนกว่าจะได้ พี่มั่นใจ ว่าในระหว่างการมุ่งมั่นเดินทางเพื่อเป็นแอร์ ถึงท้ายที่สุดแล้วน้องจะไม่ได้งานแอร์ แต่น้องจะได้ค้นพบอะไรใหม่ๆเกี่ยวกับตัวน้องเองแน่นอน เพราะฉะนั้น เรามาเดินกันต่อไป นะ ~




สุดท้ายนี้ พี่ขอฝากคำคมนี้ไว้เป็นกำลังใจให้คนที่คิดจะสมัครแอร์ทุกคน 6คำสั้นๆ จำให้ดีๆ ใช้ได้ทุกที่ ทุกเรื่อง ทุกช่วงชีวิต แล้วเรามาเจอกันตอนหน้า "so-called flight attendant" ตอนที่ 3 Goodbye Thailand

>>> แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 3 Goodbye Thailand <<<

................................................................


>>> แนะแนวข้ามทวีป : Introduction <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : High School Love On <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : Better Planet VS. Better Kids <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : What's next? <<<

"so-called flight attendant" ตอนที่ 1 How? http://skulligram.blogspot.com/2015/01/so-called-flight-attendant-1-how.html








Friday, January 16, 2015

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 1 How?

***Rules&regulations ในการอ่าน "so-called flight attendant"***

1. เรื่องราวทั้งหมดที่เกิด เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่อยู่ในอาชีพแอร์โฮสเตสมาเป็นระยะเวลา8ปี ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาโจมตีหรือพาดพิงผู้ใดทั้งสิ้น หากแต่เป็นการเขียนเพื่อเป็นวิทยาทานให้รุ่นน้องที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส และเพื่อเพื่อนๆผู้รักการอ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

2. เนื้อหาและเนื้อเรื่องบางส่วนในบางตอน ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับสายการบินอื่นๆในเหตุการณ์เดียวกัน การนำเอาเรื่องราวของผู้เขียนไปเปรียบเทียบ หรือยึดถือเป็นหลักโดยรวมว่าด้วยเรื่องของชีวิตการเป็นแอร์โฮสเตส อาจทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ผิดต่อการเป็นแอร์โฮสเตสในภาพรวมได้

3. กรุณาใช้วิจารณญาณขั้นสูงสุดในการอ่าน เนื่องจากเรื่องราวของผู้เขียนนั้น เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตการทำงานและอยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออกกลางเท่านั้น การจัดการและการบริหารของสายการบินต่างๆในแถบนี้ รวมถึงสายการบินที่เบสในประเทศไทยนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพื่อนร่วมงาน ผู้โดยสาร เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม การเลี้ยงดูในวัยเด็ก จิตสำนึก ความคิด ทำให้ความสามารถในการมองโลก การแก้ปัญหา การแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้อ่านจึงไม่ควรตัดสินชีวิตใคร แต่ควรพึงเข้าใจ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป ล้วนแล้วแต่เป็น "กรรม" ของแต่ละบุคคลเท่านั้น

................................................................

แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 1 How?

Welcome everybody to ประเด็นสำคัญของการเปิดคอลั่ม "แนะแนวข้ามทวีป" คอลั่มแนะแนวรุ่นน้องๆที่ยังอยู่ในวัยเรียน โดยเฉพาะน้องๆโรงเรียนราชีนีบูรณะ จังหวัดนครปฐม และน้องๆวัยเรียนทุกคนที่หลงเข้ามาอ่านมหากาพย์ที่ดูเหมือนจะไร้สาระของพี่ แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" จะออกมาเป็นตอนๆแบบละเอียดทุดเม็ด แต่แฝงไปด้วยเกร็ดความรู้ดีๆสำหรับน้องๆ และแบบขบขันเอาฮาสำหรับเพื่อนๆผู้รักการอ่านเพื่อความบันเทิงทั้งหลาย

อันดับแรก มาคุยกันก่อนมา เขียน "so-called flight attendant" นี่ ไม่ง่ายนะ วางพลอทที่จะเขียนไว้หมดแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว คำพูดในหัวมีเยอะแยะที่อยากเล่าอยากแชร์ แต่ด้วยเนื้องานที่ค่อนข้างเครียดและไม่แน่นอน บวกกับความที่เป็นคนตรงและจริงจังกับชีวิตมากไปหน่อย จะเขียนบทความอะไรออกมาทีเลยต้องรอให้องค์ลง หรือที่เค้าเรียกกันว่า "ติสต์แตก" นั่นเอง ฮาาาาาาาาาาา ไม่หรอก เอากันจริงๆคือถ้าช่วงชีวิตตอนนั้นมี negative energy รอบตัวมากไป เขียนอะไรออกมามันก็จะเป็น negative ไปด้วย การส่ง negative energy ต่อไปให้คนอื่น จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ถูกมั๊ย เพราะฉะนั้น การรอจังหวะดีๆให้มันมี positive energy แบบวันนี้จะดีกว่า

ทำไมถึงต้องเขียน Rules&regulations ในการอ่านบทความ "so-called flight attendant" ขึ้นมา? อย่างที่บอกไว้ในข้อ 1, 2, และ 3 ชัดนะ (ไม่ชัด ช่วยขึ้นไปอ่านใหม่ อ่านดีๆ อ่านหลายๆรอบ) อยากให้เข้าใจตรงกันตามนี้ ปัญหาจะได้ไม่ตามมาทีหลัง ดักเอาไว้ให้หมดทุกทาง ที่ดีเลย์คอลั่มตอนนี้เอาไว้จนถึงตอนนี้ ก็เป็นเพราะเรื่องที่จะเขียนเป็นตอนๆนี้แหละ มันสองแง่สองง่าม กระทบคนหลายกลุ่มหลายองค์กร แต่ทุกเรื่องราว มันเป็นประโยชน์แก่รุ่นน้องๆที่คิดอยากเป็นแอร์โฮสเตสแน่นอน อย่างที่บอกว่าพี่คงไม่สามารถไปพูดแนะแนวกับพวกเราได้ที่โรงเรียนอย่างที่อาจารย์เกรียงไกรเคยเปรยๆไว้ ถึงพี่ได้ไป แต่เวลาที่มีอาจจะน้อย เรื่องที่พี่จะพูดจะเล่าจะแชร์มันเยอะเกิน เอาแบบนี้ดีกว่า เน้นๆเนื้อๆ มหากาพย์ "so-called flight attendant" ติดตามกันไปเป็นตอนๆ นะน้องนะ

มาเข้าเรื่องกัน "so-called flight attendant" ตอนที่ 1 How?

How? คือ มาเป็นแอร์ได้ไง? ต้องทำยังไง? เอาตรงๆมั๊ย พี่ฟันธงเน้นๆ ประเด็น 2 ข้อที่ทำให้คนเป็นแอร์ได้

1. ดวง
2. การเตรียมตัว

ชัดๆ ตามนั้น  ... ไอ้ดวงเนี่ยนะ มันคือดวงจริงๆนะ พวกสมัครทุกสายการบินแต่ไม่เคยได้ กับพวกที่สมัครสายการบินครั้งแรกครั้งเดียวแล้วได้เลย ประมาณนี้ มันคือ "ดวง" ไม่เชื่อก็ต้องไม่หลบหลู่ของเค้าหล่ะ

ใครไม่มีดวงอย่างที่เค้าว่ากัน ไม่ได้หมายความว่าหมดสิทธิ์นะ "การเตรียมตัว" เพื่อการสมัครแอร์นี่สำคัญไม่แพ้ดวงนะ ขอบอกกกกกกก เตรียมตัวยังไง? อย่างแรกที่น้องต้องมี คือความสามารถทางด้านภาษา ภาษาแรกที่ต้องพูดได้ สื่อสารได้ คือภาษาอังกฤษ เน้นว่า พูดได้สื่อสารได้ ไม่ได้หมายความว่าต้องพูดเหมือนคนอ่านข่าวCNN หรือ BBCไรพวกนี้ นั่นมัน Native Speaker แล้วน้อง คำว่าพูดได้สื่อสารได้ คือสามารถพูดกับอีกฝ่ายให้เข้าใจตรงกันว่าต้องการอะไร แบบไหน ยังไง เอาแค่นั้นจริงๆ ใครได้ภาษาที่3 ถือเป็นกำไรของตัวเราและของสายการบิน

ท้าวความสมัยพี่สมัครแอร์วั้นนั้น อีก5เดือนจะอายุ 30 จำแม่น เป็นคนสุดท้ายที่เดินเข้าห้องประชุม ต่อแถวยาว พี่ยืนคนสุดท้ายตรงประตู แล้วกรรมการเดินมาปิดประตูเลย เค้าปิดรับสมัครบ่าย3 พี่เดินเข้าไปตอนบ่าย3เป๊ะ ยืนรอกันนานมากกว่าจะได้นั่ง พี่ไปคนเดียว ไม่รู้จักใครเลย ไปแบบมัดผมจุกธรรมดา หน้าไม่แต่ง แต่งไม่เป็น เล็บไม่ได้ทา ใส่ชุดสูทเดินบนส้นสูงได้โดยไม่ล้มก็บุญของพี่แล้ว ด้วยความที่นั่งรอกันนาน พวกที่มาสมัครแอร์นั่งข้างๆกันแถวใกล้ๆกันเลยต้องคุยกันเอง มีน้องคนนึง ต้องบอกว่าเซียน เพราะว่าเค้าสมัครแอร์มาหลายรอบหลายสายการบินมาก แต่ไม่ได้ซักที แต่แปลกตรงที่น้องคนนี้ มีความสามารถมองออกแล้วรู้ได้ว่า ใครได้ไม่ได้แอร์ในรอบสัมภาษณ์นั้นๆ น้องคนนี้หันมาทางพี่แล้วพูดว่า "เจ๊ เจ๊ได้แน่นอน เชื่อหนู" โอ้ว เอางั้นเลยนะน้อง น้องมองพี่แต่หัวจรดเท้า แล้วบอกว่าพี่ได้แน่นอนเนี่ยนะ!? สรุปน้องๆและอีกหลายคนมองมาแล้วออกอาการสงสาร เพ่ๆมาสมัครแอร์ ไม่เตรียมตัวไรเลยเรอเพ่ ผมไม่ทำหน้าไม่แต่งเล็บไม่ทา มานี่มาเพ่ หนูจัด ว่าแล้วก็ช่วยกันแต่งให้มันดูดีขึ้นนี่แหละ พอถึงรอบสัมภาษณ์ ผ่านเข้ารอบต่อไปจริงๆ

สมัยนี้ ใครไปสมัครแอร์แบบพี่ โอกาสผ่านเข้ารอบอาจเหลือศูนย์นะน้อง "Grooming" แปลเป็นไทยคือการดูแลการแต่งกายเผ้าผมให้เรียบร้อย คือต้องดูเนี๊ยบ และ neat นั่นเอง แล้วคำว่า "grooming" นี่นะ จะอยู่กับน้องไปตลอดชีวิตการเป็นแอร์โฮสเตสกันเลยทีเดียวเชียว พวกติสต์จัดๆ สไตล์ฮิพฮอพแร๊บโย่อะไรเทือกนี้ ถ้าคิดจะมาเป็นแอร์ ช่วยแยกแยะนิดส์นึง งานกับชีวิตส่วนตัว คนละเรื่อง จะไปสมัครแอร์ต้องเนี๊ยบ เป็นแอร์แล้วอยู่ในยูนิฟอรม์ต้องเนี๊ยบ สมัครแอร์เสร็จแล้วหรือกลับมาจากบินแล้วจะไปแร๊บโย่ที่ไหนยังไงอีกเรื่องนึง โอเคนะ

การเตรียมตัวอีกแบบหนึ่งที่ดูท่าแล้วบูมมากและอาจให้ผลที่ดีมาก คือ การไปเข้าคอรส์เรียนการเป็นแอร์ แนะนำว่าให้น้องหาข้อมูลดีๆเรื่องสถาบันที่จะไปเข้าเรียน เพราะค่าใช้จ่ายเท่าที่พี่รู้มาคือเป็นแสน ใช่ เป็นแสนเลย แต่ถ้าน้องได้เป็นแอร์ขึ้นมาจริงๆ เงินแสนที่ว่า บินแค่เดือนเดียว (ระดับฐานเงินเดือนนี้ คือของแอร์ที่เบสในประเทศแถบตะวันออกกลางบางสายการบินเท่านั้น) หรือ2เดือนแรก น้องก็ได้มันคืนมาแล้ว  แต่พี่ขอเตือนนะ หาข้อมูลดีๆ ก่อนจะคิดไปเข้าเรียนสถาบันต่างๆที่ว่ามา เน้นอีกรอบว่า "หาข้อมูลดีๆ"

สำหรับคนที่มุ่งมั่นจะเป็นแอร์โฮสเตส การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นนั้นสำคัญมาก อยากเป็นแอร์ ก็ต้องเข้าสู่โลกข้อมูลของการเป็นแอร์ ถูกมั๊ย เพราะฉะนั้น ใครเล่นเฟซบุค กดไลค์โลด (ใครกดลิงค์แล้วไม่ไป ให้พิมพ์คำว่า Thaicabincrew Community ในช่องsearchในหน้าเฟซบุคของตัวเอง แล้วจะเจอเอง) 
 Thaicabincrew Community เป็นเวบเพจของเวบไซด์ http://www.thaicabincrew.com นี่คือแหล่งรวมทุกอย่างของคนที่อยากเป็นแอร์ และที่เป็นแอร์แล้ว เป็นเวบไซด์แรกที่จัดทำขึ้นมาเมื่อสมัยนานมากๆ แอดมินเป็นพี่สจ๊วตการบินไทยผู้คร่ำหวอดในวงการแอร์มานาน ข้อมูลที่อยู่ในนี้ทั้งหมด ใครที่อ่านได้หมด ถือเป็นกำไร และเป็นสิ่งสำคัญมากที่ทำให้น้องได้งานแอร์ พี่ขอฟันธง อ่านให้หมดทั้งเวบไซด์ ทุกคอลั่ม ทุกการสัมภาษณ์ ทุกการแชร์ประสบการณ์จากการสัมภาษณ์ของทุกสายการบิน น้องจำเป็นต้องอ่านถ้าอยากเป็นแอร์  ยังมีเวบเพจของพี่ๆแอร์โฮสเตสอีกหลายสายการบินที่ทำออกมาช่วยน้องๆที่อยากเป็นแอร์ พี่ๆบางคนมีชื่อเสียงแล้ว ช่วยน้องๆไปหลายคนแล้ว เวบเพจของพี่ๆพวกนี้ น้องจะเจอเองในเวบเพจหลักในเฟซบุคของ Thaicabincrew-community

อย่างที่บอกว่า "so-called flight attendant" จะเป็นมหากาพย์บทความหลายตอนมาก นี่คือเนื้อหาทั้งหมดที่อยากพูดอยากบอกในตอนแรก ตอนที่ 1 How? อ่ะ เอาไปเบาๆก่อนนะ เดี๋ยวมาเจอกันตอนหน้า อีกไม่เกิน 3 วัน กับ แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 2 How come? 


>>> แนะแนวข้ามทวีป : "so-called flight attendant" ตอนที่ 2 How come? <<< 






............................................................................................................................


>>> แนะแนวข้ามทวีป : Introduction <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : High School Love On <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : Better Planet VS. Better Kids <<<
>>> แนะแนวข้ามทวีป : What's next? <<<

Friday, January 9, 2015

เกร็ดภาษาน่ารู้(Language Tips) : กริยาวลี(Phrasal Verb)

***This post was since December 24, 2011 on Facebook page "แม่ชมกรให้สอนภาษา".

กริยาวลี(Phrasal Verb) : ว่าจะไปนอนแล้ว แต่เหลือบไปเห็นอีกคำนึงที่น่าจะเอามาพูดถึงได้ มันคือคำว่า "pick up"
pick up แปลได้หลายอย่าง แล้วก้อใช้ได้หลายแบบ มาลองดูกันเลย...
Pick (something) up :
pick up ที่ใช้กับสิ่งของ อย่างแรก แปลว่า เก็บ/หยิบ/ยก/เอา(ของ) สมมุติปากกาตกอยู่บนพื้น เลยบอกเพื่อนให้ช่วยเก็บมันขึ้นมาหน่อย Can you pick it up? หรือจะใช้ Can you pick up the pen?/Can you pick the pen up? ก้อได้
pick up ที่ใช้กับสิ่งของ อย่างที่สอง คือรับโทรศัพท์ อย่างเช่นมีเสียงโทรศัพท์เข้ามา แต่ไม่ยอมรับที เพื่อนเลยถามว่า ไม่รับโทรศัพท์เหรอ Don't you wanna pick up the phone? หรือถ้าเพื่อนขี้สงสัยหน่อย ก้อจะพูดว่าทำไมไม่รับโทรศัพท์หล่ะ Why don't you pick up the phone?
Pick (someone) up :
pick up ที่ใช้กับคน แปลว่า ไปรับ มี2ตัวอย่าง เดี๋ยวไปรับแอนวันนี้นะ I'll pick Ann up today./I'll pick up Ann today. กับ เดี๋ยวพี่ไปรับเธอวันนี้นะจ้ะ I'll pick you up today.
*** เอ้า ใครตาดีมั่ง!? ถ้าอ่านมาตั้งแต่ต้นจริงๆจะมีคำถามว่า สรุปใช้อันไหนกันแน่เนี่ยพี่!? pick up the pen หรือ pick the pen up เอาซักอย่างได้มั๊ยหนูงง!?
ตอบได้เลยคำเดียวว่าตรงนี้น้องต้องจำว่า จะใช้แบบไหนก้อได้ "แต่" ขอเน้นอีกรอบว่า "แต่" ถ้าในประโยคที่น้องแต่งหรือพูดออกมา ดันมี คำสรรพนาม(pronoun) อยู่ในประโยคด้วยนี่แล้วล่ะก้อ น้องจะต้องจับเอาคำสรรพนาม (pronoun) มาเป็นก้างขวางคอระหว่าง pick กับ up ทันที~
คำสรรพนาม (pronoun) ที่ว่าก้อคือ "me, you, us, them, him, her, it" คับน้อง ตามนี้ :-
I will pick you up.
You will pick me up.
Will you pick us up?
I will pick them up.
I will pick him up.
I will pick her up.
I'll pick it up.
*** ระวังข้อสอบดีๆนะคับ ชอบออกมาหลอกมาลวงให้เราตอบผิด ณ จุดนี้
ปิดท้ายกันด้วย pick up ที่คนไทยคุ้นหูมากมาย เพราะมันคือการสะกดคำว่า รถปิ๊กอัพ เป็นภาษาอังกฤษดีๆนี่แหละค้าบบบบบ~ ^^

***
 เน้นอีกรอบว่า ถ้าใช้คำสรรพนาม "me, you, us, them, him, her, it" แล้วนี่ ต้องเอาไปอยู่ตรงกลางอย่างเดียวเท่านั้น ในที่นี้คือ My friend will pick me up today. คือประโยคที่ใช้ได้ประโยคเดียวเท่านั้น~ น้องAntน่ารักมากค้าบบบที่เข้ามาถาม~ Merry X'Masนะจ้ะ~ ***


ติดตาม "เกร็ดภาษาน่ารู้ (Language Tips)" ได้ที่
>>>  รวมมิตร "เกร็ดภาษาน่ารู้ (Language Tips)" และ "อยากพูด - พูดเล้ย (Just Say It)" <<<