Saturday, June 27, 2020

"ถามมา - ตอบไป (Q&A)" ตอน นั่งตรงไหนในเครื่องบิน แล้วจะไม่ติดCOVID-19

Picture Credit : https://www.dezeen.com/2020/05/12/factorydesign-isolation-passenger-screen-social-distancing-planes/


คำถามนี้เข้ามาเมื่อวาน จากเพื่อนผู้เขียนเองนี่แหละ เป็นคู่สามี-ภรรยาชาวออสเตรเลียกับญี่ปุ่น เจ้าของคำถามคือ Glen สามีของ Masumisan นั่นเอง คือเพื่อน 2 คนนี้ชีวิตเค้าจะอยู่ญี่ปุ่น 6 เดือน แล้วกลับไปอยู่ออสเตรเลีย 6 เดือน วนอยู่แบบนี้ทุกปี ตามกำหนดการคือเพื่อนจะต้องบินกลับออสเตรเลียตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมแล้ว แต่กลับไม่ได้เพราะไฟลท์แคนเซิลหมด เลยติดอยู่ที่ญี่ปุ่นเกือบ 2 เดือน สุดท้ายได้กลับกับสายการบิน Cathay Pacific via(ผ่าน) Hong Kong คือนั่งจากญี่ปุ่นไปลงที่ฮ่องกง แล้วจากฮ่องกงต่อไปออสเตรเลียอีกที

Glen ถามมาว่า >>> 




คือเพื่อนอยากรู้ว่านั่งตรงไหนในเครื่องบินแล้วเสี่ยงติด COVID-19 น้อยที่สุด สิ่งที่เค้าห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือการไปแวะลงต่อเครื่อง (transit) ที่ ฮ่องกง เพราะคนจะมาต่อเครื่องกันเยอะ และมาจากหลายที่ มันก็พอเข้าใจความเสี่ยงว่ามีแน่นอน

มาถามแอร์โฮสเตสเรื่องนี้ก็อาจจะต้องคุยกันยาว แต่ก็ตอบเพื่อนแบบสั้นๆไปว่าแบบนี้ >>>




ตามนั้นเลย หลักๆคือ ล้างมือบ่อยๆ (wash your hands) การใส่มาสก์ (wear mask) กับการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) อันนี้คือเป็นวิธีป้องกันที่ชัดเจนที่สุดแล้ว ณ ตอนนี้ถ้าต้องออกจากบ้านหรือเดินทางข้ามประเทศ ไม่มีใครมองเห็นไวรัสตัวนี้ได้ด้วยตาเปล่า มันมีอยู่ทุกที่ และอยู่บนพื้นผิวของทุกสิ่งอย่าง มือเราจับทุกสิ่งอย่างรอบตัว แล้วเอาไปจับตา หู จมูก ปาก แบบไม่รู้ตัว เป็นการส่งเชื้อเข้าร่างกายโดยตรง หรือบางทีเชื้อมันอยู่ในอากาศ คือมีผู้ติดเชื้อแล้วอยู่แถวนั้น ไอหรือจามออกมา ถ้าเป็นรถประจำทาง หรือเครื่องบิน หรือห้องที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ที่ๆอากาศมันจะวนๆอยู่แบบนั้น แล้วเราไม่ได้ใส่หน้ากาก เราก็หายใจปกติ คือหายใจเข้าไปพอดี แบบนี้ก็เสี่ยง เพราะฉะนั้นตอบกันสั้นๆเน้นๆว่า

 ***บนเครื่องบิน ไม่มีที่นั่งตรงไหนเลยที่จะป้องกันเราไม่ให้ติดเชื้อ COVID-19 ได้*** 

ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าแห่งการทดลองทุกสิ่งอย่าง ทดลองแต่ละอย่างคือได้ความรู้ที่เข้าใจได้ง่ายๆแบบไม่ต้องมา technical terms(ศัพท์เฉพาะ/ศัพท์ทางเทคนิค) อะไรมาก อาจจะเคยเห็นข่าวนี้กันมาแล้ว ที่เค้าทำการทดลองการเดินทางของเชื้อไวรัสตัวนี้ ใครยังไม่เคยดู แนะนำ

>>> Coronavirus: New Facts about Infection Mechanisms <<<
>>> Black Light Experiment <<<

ไม่ต้องเข้าใจภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น แต่คือแค่ดูคลิบก็สามารถเข้าใจได้ การล้างมือบ่อยๆและทุกครั้งก่อนจะเอาไปจับตา หู จมูก ปาก รวมถึงก่อนกินข้าวคือการป้องกันเบื้องต้นแบบไม่ใช่แค่ COVID-19เท่านั้น มันสามารถป้องกันได้หลายโรคเลย

พูดถึงเรื่อง Communicable Disease (โรคติดต่อ) ในที่นี้คือรูปแบบของไวรัสนะ จำแม่นเลย น่าจะประมาณปี 2010 บินมาได้แค่ 3 ปี ถ้าจำไม่ผิดคือทำไฟลท์ไปประเทศปากีสถาน หลังเสร็จเซอวิสคือมีคุณแม่อุ้มลูกน้อยอายุไม่ถึง 1 ขวบมาเข้าห้องน้ำ เพื่อนลูกเรือรักเด็กทั้งหลายก็เข้าไปเล่นกับทารกน้อยหน้าตาน่ารักจิ้มลิ้ม คือ ตาโด คิ้วดก เรียกแม่ยกทุกงาน พอถึงตาผู้เขียนเข้าไปดูหน้าใกล้ๆบ้าง แค่นั้นแหละ ทารกน้อยจามใส่หน้า #ซะงั้น มันเป็นการจามแบบไม่มีการเตือนล่วงหน้า คือเข้าหน้าเราเต็มๆ และด้วยความตกใจคือหายใจเข้าไปนิดนึง เป็นครั้งแรกในชีวิตที่รู้ว่า ไวรัสคืออะไร เพราะรู้สึกเลยว่ามันเข้ามาในร่างกายแล้วคือมันทำปฏิกิริยากับร่างกายเราเลย มึนๆเล็กน้อย สักพักนึงคือปวดหัวเบาๆ อย่าได้ไปดูถูกการจามของทารกน้อยเด็ดขาด ไม่มีใครรู้ว่าใครมีอะไรอยู่ในร่างกาย โชคดีที่ว่าผู้เขียนไหวตัวทัน เดินไปล้างหน้าล้างตา กินวิตามิน C 1000mg เดี๋ยวนั้น ขากลับกินอีก 1000mg (Vitamin C กินเข้าไปแล้วอยู่ในร่างกายแค่ 3 ชม. เท่านั้น หลังจากนั้นร่างกายจะขับออกทันที) และทั้งไฟลท์ขาไปและขากลับคือกินน้ำหมดไป 3 ลิตร (น้ำขวดใหญ่ 2 ขวด) จบไฟลท์แล้วคือไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่ป่วยไม่เป็นอะไร ทุกอย่างปกติ #รอดตัวไป

ใครที่ติดตามเรื่อง COVID-19 ตั้งแต่ต้น ในที่นี้คือตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว จะรู้ว่าข้อมูลมันจะเริ่มมาเรื่อยๆเดือนกุมภาพันธ์ พอเข้าเดือนมีนาคมคือทุกอย่างเริ่มชัดแล้วว่าไม่ธรรมดา เพราะเริ่มไปทั่วโลกและ เป็นเดือนที่คนติดเชื้อแบบไม่ทันได้ป้องกันตัวมากที่สุด ข้อมูลทางการแพทย์และจากขององค์การอนามัยโลกก็จะเริ่มทยอยออกมาให้อ่านกันแบบมีมูลข้อเท็จจริงและคนเริ่มฟังกันจริงๆคือเดือนเมษายนยาวมาถึงทุกวันนี้

สำหรับคนที่ติดตามเรื่องนี้มาตลอด ต้องจากรายงานและการวิจัยที่เค้าทดลองและยืนยันมาแล้วเท่านั้นนะ ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้อ่านแล้วไปฟังคนอื่นพูดมาอีกที ต้องอ่านและศึกษาเองเท่านั้นถึงจะเข้าใจ ใครที่ตามข่าวจาก WHO โดยตรงเลยข้อมูลจะเยอะมาก อ่านกันจนตัดแว่นใหม่กันเลยทีเดียว ใครพออ่านภาษาอังกฤษได้คือแนะนำให้ไปอ่านที่นี่

>>> WHO - CORONAVIRUS <<<
>>> Q&A on coronaviruses (COVID-19) <<<
>>> COVID-19 Advice for public <<<

หรือสะดวกฟัง updates จากสื่อของไทยก็ได้ ทั้งของกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายช่องทางเลย ชอบที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลีนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายไว้ชัดเจนมาก ได้ความรู้ความเข้าใจ ติดตามความรู้ดีๆจากคุณหมอยงได้ที่ >>> ํYong Poovorawan <<< ประเด็นสำคัญคือ คนไม่อ่าน ไม่ติดตาม ก็ไม่รู้ พอไม่รู้ ก็เสี่ยง เราอาจจะไม่เป็นอะไร แต่คือคนอื่นลำบาก อะไรแบบนี้ มันต้องช่วยกัน ถึงจะผ่านไปได้

***สำหรับคนตาดีที่อ่านจากคำตอบที่ผู้เขียนตอบ Glen แล้วอาจจะไปสะดุดคำว่า OCD (Obsessive  Compulsive Disorder) ว่าคืออะไร
คำอธิบายแบบไทยๆ >>> OCD - โรคย้ำคิดย้ำทำ <<<
เวอชั่นภาษาอังกฤษก็มา >>> OCD - Obsessive Compulsive Disorder <<<

ตอนนี้ Glen กับ Masumisan ถึง Australia แล้ว และตรงเข้าไปอยู่โรงแรมใน Sydney ที่เค้าเตรียมไว้สำหรับ 14 Days State Quarantine เป็นที่เรียบร้อย ขอให้เพื่อนทั้ง 2 คนผ่านช่วงเวลาการกักตัว 14 วันนี้ไปได้ด้วยดี แล้วก็ขอให้ผู้อ่านทุกคนปลอดภัย อย่าลืมนะ >>> ล้างมือบ่อยๆ (wash your hands)  ใส่มาสก์ (wear mask) รักษาระยะห่าง (Social Distancing) <<<  #ร่วมด้วยช่วยกัน

#StaySafe

.......................................................................................

"ถามมา - ตอบไป (Q&A)" ตอน กระเป๋าวางตรงไหน???







No comments: